ประวัติของโรงเรียน
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนเรศวรป่าละอู ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พิกัด NP 565828 จัดตั้งเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2525 ตามหนังสือ กระทรวงศึกษาธิการที่ 1403/23576 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2525 สาเหตุในการจัดตั้งเนื่องจาก นายคะ ปัญญาหาญ ผู้ใหญ่บ้านป่าละอู และชาวไทยภูเขา เผ่ากะเหรี่ยง ซึ่งมีจำนวน 55 ครอบครัว มีประชาชน ชาย – หญิง รวม 237 คน ได้ทำหนังสือร้องขอไปยัง กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน ให้มาจัดตั้ง โรงเรียนในพื้นที่ เนื่องจากผู้ปกครองย้ายเข้ามาอยู่ใหม่ในที่ดินจัดสรรตามพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พื้นที่บ้านป่าละอูบน กองกำกับการ สนับสนุนทางอากาศ ตำรวจตระเวนชายแดน ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปสำรวจข้อมูล ปรากฏว่ามีเด็กที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับประมาณ 50 คน และยังมีเด็กชาย – หญิง ซึ่งย้ายตาม ผู้ปกครองมาอีกจำนวนมากยังขาดที่เรียน ผู้ปกครองมีความประสงค์ให้ทางราชการเข้ามาช่วยเหลือจัดตั้งโรงเรียนสอนบุตรหลานให้อ่านออกเขียนได้ กองกำกับการสนับสนุนทาง อากาศตำรวจตระเวนชายแดน จึงติดต่อประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน และบ้านพักครูชั่วคราวขึ้นโดยใช้วัสดุในพื้นที่ และความร่วมมือจาก ประชาชนร่วมกันดำเนินการก่อสร้าง และทำพิธีเปิดการเรียนการสอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2526 โดย พ.ต.อ.สาโรจน์ ปัญญา ผู้กำกับการ กองกำกับการสนับสนุน ทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน ( ยศ , ตำแหน่ง ในขณะนั้น ) โดยเริ่มเปิดการสอน ชั้นเด็กก่อนวัยเรียน และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เริ่มแรกมีนักเรียน 52 คน ครูตำรวจตระเวน ชายแดน ทำการสอน 3 นาย
ปีการศึกษา 2528 มีนักเรียนเพิ่มมากขึ้น อาคารเรียนชั่วคราวเริ่มชำรุดไปตามกาลเวลา จึงได้จัดสร้างอาคารเรียนถาวรขึ้น โดยขอรับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์จากโรงเรียน อานันท์ ซึ่งรื้ออาคารเรียนเพื่อสร้างใหม่ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทางราชการและภาคเอกชน สร้างเป็นอาคารเรียนถาวรชั้นเดียว 1 หลัง 4 ห้องเรียน ห้องพักครู 1 หลัง ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งราชการและเอกชนสร้างอาคารประกอบต่าง ๆ
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2533 กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน ได้มอบโอนความรับผิดชอบให้ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 14 ตามคำสั่งกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
ในปีการศึกษา 2558 ร้านจิตรลดา โดยท่านผู้หญิงวิลาวัณย์ วีรานุวัตต์ เลขาธิการร้านจิตรลดา ได้สนับสนุนงบประมาณ จำนวน 3,934,000 บาท จัดสร้างอาคารเรียน มาตรฐาน 2 ชั้น ตามแบบ สปช.105/29 ให้กับ รร.ตชด.นเรศวรป่าละอู และ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณา โปรดเกล้าพระราชทานชื่ออาคารเรียนดังกล่าวว่า “อาคารมณีรัตน์” ปัจจุบันโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนเรศวรป่าละอู สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 14 เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นเด็กปฐมวัย ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง จำนวน 212 คน ชาย 114 คน หญิง 98 คน ผู้ปกครองส่วนใหญ่ อาชีพรับจ้าง ฐานะยากจน มีครูตำรวจตระเวนชายแดนจำนวน 7 คน และครูผู้ดูแลเด็ก 2 คนครูอัตราจ้าง 2 คน โดยมี ด.ต.อนุวัฒน์ แสงวงค์ ทำหน้าที่ครูใหญ่นอกจากทำการสอน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของกระทรวงศึกษาธิการแล้ว โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนเรศวรป่าละอู
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโรงเรียน 6 ครั้ง
ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2530
ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2542
ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2549
ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554
ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2559
ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโรงเรียน เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562
วิสัยทัศน์โรงเรียน : โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนเรศวรป่าละอู เป็นโรงเรียนสร้างทักษะการดำเนินชีวิตให้กับนักเรียนและชุมชนตลอดชีวิต
ปรัชญาโรงเรียน : "ททมาโน ปิโย โหติ" ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
โครงการพระราชดำริ
1. โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ครูรับผิดชอบ ส.ต.อ.ศรายุทธ พูลลัด
- ผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในโรงเรียน ทั้งเนื้อสัตว์ ปลา ถั่วเมล็ดแห้ง พืชผักและผลไม้ที่หลากหลายเหมาะสมกับท้องถิ่นโดยเฉพาะกล้วยและมะละกอ โดยใช้รูปแบบ การเกษตรแบบผสมผสานและชีววิธีให้มีผลผลิตที่หลากหลายหมุนเวียนกันอย่างต่อเนื่องและ สอดคล้องกับแผนการประกอบอาหารของโรงเรียน
- ส่งเสริมการถนอมอาหารที่มีเหลือใช้ เพื่อเก็บไว้ใช้ในฤดูขาดแคลน
- ประกอบอาหารกลางวันและอาหารเสริมที่มีคุณค่าและถูกสุขลักษณะ
- เฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ รวมทั้งการตรวจสุขภาพและปรับปรุงภาวะ โภชนาการของนักเรียนและของชุมชน
- จัดการเรียนการสอนเรื่องการเกษตรและโภชนาการในโรงเรียนให้สอดคล้องกับ
กิจกรรมของโครงการ
2. โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ครูรับผิดชอบ ส.ต.ท.หญิงวาสนา เจิมสุวรรณ์
- พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครู
- ปรับปรุงอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อม สนับสนุนสิ่งจำเป็นในการปรับปรุงอาคาร สถานที่ ตลอดจนสิ่งแวดล้อม เพื่อเกื้อหนุนให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พัฒนาโรงเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมในการเรียน
- จัดหาวัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยให้แก่โรงเรียนให้ทันเวลา
- จัดทำสื่อการสอนโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น
- จัดกิจกรรมสัมพันธ์ชุมชน และให้ผู้ทรงคุณวุฒิประจำท้องถิ่นได้ถ่ายทอดความรู้ เกี่ยวกับประวัติขนบธรรมเนียม ประเพณีตลอดจนภูมิปัญญาของท้องถิ่น
- จัดให้มีการเรียนการสอนในกิจกรรมร่วมหลักสูตร โดยเน้นไปที่กิจกรรม การเกษตรการอาชีพ การสหกรณ์การส่งเสริมสุขภาพอนามัย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยบูรณาการเข้ากับแผน กพด.
- จัดการเรียนการสอน DLTV สื่อ ๖๐ พรรษา
- จัดห้องสมุดสำหรับการศึกษาค้นคว้าของนักเรียนและชุมชน
3. โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน ครูรับผิดชอบ ด.ต.หญิงเอื้อมพร ไหลเรี่ย
- ดื่มน้ำเสริมไอโอดีนเป็นประจำทุกวัน
- ส่งเสริมการใช้เกลือเสริมไอโอดีนปรุงอาหารกลางวันเป็นประจำทุกวัน
- เฝ้าระวังโรคขาดสารไอโอดีน โดยตรวจคอพอกในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา ทุกคน
- ให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนและประชาชน เรื่องโรคขาดสารไอโอดีน
4. โครงการส่งเสริมสหกรณ์ ครูรับผิดชอบ ส.ต.ท.หญิงกานต์ธิดา ยิ้มรอด
- จัดการเรียนการสอนวิชาสหกรณ์
- กิจกรรมร้านค้า กิจกรรมออมทรัพย์ และกิจกรรมการเกษตร เพื่อเป็นการฝึก ทักษะของนักเรียนในการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์
- ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ
5. โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ ครูรับผิดชอบ ด.ต.หญิงสุกัญญา ศรีทอง
- คัดเลือกนักเรียนในท้องถิ่นทุรกันดารเข้าเป็นนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
- จัดอบรมประจำปีเพื่อชี้แจง แนะนำแนวทางปฏิบัติตัวของนักเรียน ปลูกฝัง อุดมการณ์ ความสำนึกในความเป็นไทย ให้มีความรักในถิ่นที่อยู่ และการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
- ติดตาม ตรวจเยี่ยมนักเรียน
- แนะแนวการศึกษาต่อของนักเรียน
- ส่งเสริมให้นักเรียนมีงานทำตามคุณวุฒิของนักเรียน
- ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ด้านการเรียน การเงิน ตลอดจนการแก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพนักเรียน
6. โครงการฝึกอาชีพ ครูรับผิดชอบ ส.ต.อ.หญิงศิริพร บุญมาก
ฝึกทักษะและความรู้ด้านวิชาชีพให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียน
- การทำกล้วยฉาบ
- ตัดผม
- สเปร์ตะไคร้หอมป้องกันยุง
7. โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ครูรับผิดชอบ ส.ต.ท.หญิงนารี ศรีทอง
- จัดการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียน
- ให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในชุมชน
8. โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร ครูรับผิดชอบ ด.ต.หญิงเอื้อมพร ไหลเรี่ย
- ให้บริการการดูแลอนามัยแม่และเด็กมีการประสานงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตลอดจนสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการให้บริการ
- รณรงค์ให้ประชาชนร่วมดูแลแม่และเด็กทั้งในครอบครัวของตนเองและชุมชน
- สนับสนุนอาหารเสริมและยาที่จำเป็นแก่แม่และเด็ก
ผลิตภัณฑ์โรงเรียน : ผ้าเช็ดมือ ซองใส่กุญแจ และกระเป๋าผ้าลดโลกร้อน
เป็นโครงการที่โปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการในปี พ.ศ. 2531 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกอาชีพให้กับศิษย์เก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนที่ไม่อาจศึกษาในระดับสูงต่อไปได้ และเน้นให้มีการฝึกอาชีพที่เหมาะสมสำหรับท้องถิ่นนั้นๆ ในระยะเริ่มแรกให้จัดทำในโรงเรียนทดลองก่อนภาคละ 1 โรง โดยมีกรมอาชีวศึกษา(ขณะนั้น) รับไปสนองพระราชดำริฯ ดังนั้นทาง โรงเรียน ตชด.นเรศวรป่าละอู จึงได้เห็นถึงความสำคัญของโครงการนี้จึงได้จัดทำ ผลิตภัณฑ์ของโรงเรียน ได้แก่ การทำกล้วยฉาบ และ สเปร์ตะไคร้หอมกันยุง
ปัจจุบันมี นักเรียนรวมทั้งสิ้น 193 คน เป็นชาย 110 คน หญิง 83 คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน 8 นาย ครูอนุบาล 2 คน ครูตามโครงการโรงเรียนคู่พัฒนา 1 คน
ครู วก.2 1 คน รวมครู 12 คน
ลำดับ |
ยศ ชื่อ สกุล |
วุฒิการศึกษา |
ทำหน้าที่ |
หมายเหตุ |
1 |
ร.ต.ต.อนุวัฒน์ แสงวงค์ |
-ปริญญาตรี (คบ.)
-ป.บัณฑิตวิชาชีพครู ประถมศึกษา สาขาหลักสูตรและการสอน(ศษ.บ.) |
- ครูใหญ่
- บริหารทุกโครงการ |
|
2 |
ด.ต.หญิงสุกัญญา ศรีทอง |
ปริญญาตรี (ศศบ.) |
- โครงการนักเรียน
ในพระราชานุเคราะห์
- ครูประจำชั้น ป.2 |
|
3 |
ด.ต.หญิงกานต์ธิดา ยิ้มรอด |
ปวส.การบัญชี |
-โครงการส่งเสริมสหกรณ์
-ประจำชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 |
|
4 |
ส.ต.อ.หญิงเอื้อมพร ไหลเรี่ย |
ปวช.ศิลปหัตถกรรม |
- โครงการส่งเสริมโภชนาการ
และสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
-โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
-ครูประจำชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 |
|
5 |
ส.ต.อ.ศรายุทธ พูลลัด |
ปวช. สาขายานยนต์ |
- โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
-สอนการงานช่วงชั้นที่ 2 |
|
6 |
ส.ต.ท.หญิงนารี ศรีทอง |
ม.6 |
- โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
-
ครูประจำชั้น ป.3 |
|
7 |
ส.ต.ท.หญิงศิริพร บุญมาก |
ม.6 |
- โครงการฦึกอาชีพ
-
ครูประจำชั้น ป.5 |
|
8 |
ส.ต.ต.หญิงวาสนา เจิมสุวรรณ์ |
ม.6 |
-โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาฯ
ครูประจำชั้น ป.6 |
|
9 |
นางสาวรำเพย แสงวงค์ |
-ปริญญาตรี (คบ.)
-ป.บัณฑิตวิชาชีพครู ปฐมวัย สาขาหลักสูตรและการสอน(ศษ.บ.)
-ปริญญาตรี(ศษ.บ) ปฐมวัย |
- ธุรการ
- ประจำชั้นอนุบาล 3
|
|
10 |
นางสาววรรญณา พระเทศ |
-ปริญญาตรี ปฐมวัย (ศษ.บ.) |
ครูประจำชั้น อ.2
|
|
11 |
นายสิทธานนท์ รอดสาคร |
- ปริญญาโท(ศศ.ม.)
- ป.บัณฑิตวิชาชีพครู ประถมศึกษา
สาขาหลักสูตรและการสอน (ศษ.บ.) |
ครูสอนคอมฯ
|
|
12. |
นายอนุชิต เอมโอฐ |
ปริญญาตรี (คบ.) |
ครูภาษาอังกฤษ ป.1-6 |
|
1.ร.ต.ท.สมพงษ์ ระยะกุญชร |
ประธานกรรมการ |
2.น.ส.ริทู พรวราพรรณ |
กรรมการผู้แทนผู้ปกครอง |
3.ด.ต.หญิงสุกัญญา ศรีทอง |
กรรมการที่เป็นผู้แทนครู |
4.นายนิติภูมิ ปัญญาหาญ |
กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรชุมชน |
5.น.ส.พรพิกุล เจริญสุข |
กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
6.น.ส.ปริศนา จันทร์อุปถัมภ์ |
กรรมการที่เป็นผู้แทนศิษย์เก่า |
7.พระจรัญ ฐิติธัมโม |
กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรศาสนา |
8.น.ส.พอลล่า ทรัพย์เจริญ |
กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรศาสนา |
9.น.ส.ขวัญเรือน ปัญญาหาญ |
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
10.นายมนตรี กล่อมเกลี้ยง |
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
11.นางละมัย วงษ์เพชร |
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
12.นางสมจิต เวนะ |
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
13.น.ส.อำพร ปัญญาหาญ |
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
14.น.ส.นิสา ทองคำ |
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
15.ร.ต.ต.อนุวัฒน์ แสงวงค์ |
กรรมการและเลขานุการ |
การคมนาคม : สภาพเส้นทางสามารถเดินทางเข้า - ออก ได้ทุกฤดูกาล
ลิงค์ที่น่าสนใจ
|